ชาแดงเลม่อนหยุนหนานเตียนหง (云南柠檬滇红茶)
อัพเดทล่าสุด: 5 เม.ย. 2025
37 ผู้เข้าชม
ผูเอ่อร์เปลือกส้มคือต้นแบบของเตียนหงเปลือกเลม่อน
- ว่ากันว่าในสมัยราชวงศ์ชิง มีข้าราชการยูนนานตกอับท่านหนึ่ง นามว่า "ลั่วเทียนฉือ" (罗天池) ถูกถอดจากตำแหน่ง เขาย้ายกลับบ้านเกิดที่กวางตุ้งพร้อมกับ "ชาผูเอ่อร์" ที่เขาชอบดื่มเป็นประจำ
- วันหนึ่งเขาเกิดป่วย ภรรยาต้มน้ำเปลือกส้มแห้ง (陈皮 เฉินผี) ให้ดื่มตามตำรายาจีน แต่เขาเข้าใจผิด คิดว่าเป็นน้ำชา จึงเทผสมกับน้ำชาผูเอ่อร์ แล้วดื่มเข้าไป ปรากฏว่าหอมหวานนุ่มนวล สดชื่นถึงใจ
- หลังจากนั้น เขาจึงเริ่มทดลองคว้านเนื้อส้มแดง (大红柑 ต้าหงกาน) ใส่ผู่เอ๋อร์ลงไปในผลส้ม จากนั้นก็ปิดฝาแล้วนำไปตากแห้ง ของดีจาก 2 มณฑลจึงได้มาเจอกัน เปลือกส้มแห้งซิงฮุ่ยกวางตุ้ง ผสมกับ ชาผูเอ่อร์จากยูนนาน
- เกิดเป็น ชาผูเอ่อร์เปลือกส้ม (柑普茶 กานผู่ฉา) ส้มของจีนมันก็มีหลายขนาด ที่ร้านเราเรียกว่า เสี่ยวชิงกาน แปลว่า ส้มเปลือกเขียวลูกเล็ก
- เล่ามาตั้งนานเกี่ยวอะไรกับชาแดงเลม่อน สรุปคือ ชาแดงเลม่อนคาดว่าได้รับแรงบันดาลใจมาจากชาผูเอ่อร์เปลือกส้ม ที่เอาเปลือกเลม่อนมายัดชาแดงเตียนหง
ชาที่ยัดในเปลือกเลม่อน คือ เตียนหง ชาแดงที่เกิดมาจากสงคราม
- เรื่องมีอยู่ว่า ในสมัยสงครามจีนญี่ปุ่น (ค.ศ. 1937-1945) จีนถูกญี่ปุ่นยึดพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงใต้ไป ทำให้เสียฐานการผลิตชาหลักอย่างฝูเจี้ยน เจ้อเจียงไป
- รัฐบาลจีนจึงจำเป็นต้องสร้างฐานการผลิตชาดำแห่งใหม่ เลยไปสำรวจยูนนาน แล้วก็พบว่ามณฑลยูนนาน มีชาพื้นเมืองพันธุ์อัสสัมใบใหญ่(云南大叶种)อายุเยอะมากกว่า 100 ปีอยู่เต็มไปหมด ซึ่งเหมาะสมกับการผลิตชาดำคุณภาพสูงเป็นอย่างมาก
- เฟิงเส้าฉิว (冯绍裘) นักวิชาการด้านชา ลองผลิตชาในอำเภอเฟิ่งชิ่ง (凤庆) แล้วส่งตัวอย่างไปยังฮ่องกง ซึ่งได้รับคำชื่นชมในด้านรสชาติ กลิ่นหอม และสีของน้ำชา
- เมื่อผลิตชาดำล็อตแรกเพื่อการส่งออก ก็ตั้งชื่อชาว่า "เตียนหง (滇红)"
- 滇 "เตียน" หมายถึงชื่อย่อของมณฑลยูนนาน
- 红 "หง" หมายถึงชาแดง
- หลังจากนั้นอังกฤษก็นำเข้าเตียนหงเเพิ่มขึ้น ทำให้จีนมีรายได้เข้ามามากขึ้นจากการขายชาแดงตัวนี้
วิธีชงชาแดงเลม่อนหยุนหนาน
- ปริมาณชา : 1 ลูก (12 -15 กรัม) ต่อน้ำ 200 ml
- อุณหภูมิน้ำ : 90 องศาเซลเซียส
- เวลาแช่ :
- บีบให้แตก แล้วลวก 1 ครั้ง 10 วินาที
- ชงรอบที่ 1 : 30 วินาที
- ชงรอบถัดไป 15 วินาที +5 วินาที จนชาจืด
- ข้อแนะนำ : ใช้กาดินเผาจื่อซาจูหนี หรือปังเคยเนื้อดินละเอียด เก็บความร้อนได้ดีในการชงจะทำให้กลิ่นและน้ำชาชัดเจนมากขึ้น
- **นี่เป็นวิธีศึกษาของเรา ไม่มีการชงที่ผิดหรือถูก อยู่ที่ความพอใจของผู้ดื่ม
กรรมวิธีการผลิต
- ลักษณะใบชาเป็นเส้น ๆ สีน้ำตาลปนดำ ยัดในเปลือกเลม่อน ตัวชาตั้งใจให้เกิดกลิ่นดอกไม้ผลไม้เป็นหลัก ถูกยัดมาในผิวเลม่อน เมื่อนำไปชงพร้อมเปลือกทำให้ได้กลิ่นหอมของเปลือกเลม่อนเข้ากันอย่างมาก
รสชาติและกลิ่น
- กลิ่น: กลิ่นผลไม้ปนเลปือกเลม่อนแห้งฟุ้งในจมูก
- รสชาติ: จิบแล้วหวานเข้ม ชามีน้ำหนักดี ฝาดนิด ๆ ชุ่มคออย่างมาก
คุณประโยชน์
- เปลือกเลม่อน ว่ากันว่าให้สรรพคุณแก้หวัด ลดคัดจมูก
คำแนะนำ
- เหมาะกับผู้ชอบชาหวานเข้ม หอมมาก จิบกับขนมยามบ่ายก็ดีมาก ๆ
บทความที่เกี่ยวข้อง