แชร์

ชาเขียวมะลิหิมะโปรย(碧潭飘雪)

Screenshot_17.png นภัสรพี พุทธรัตน์
อัพเดทล่าสุด: 13 มี.ค. 2025
52 ผู้เข้าชม

ชามะลิหิมะโปรย

  • 徐金华 (สวี่ จินฮวา) คิดค้นชานี้ในปี 1970 ด้วยความต้องการสร้างชากลิ่นดอกไม้ที่มีทั้งวัตถุดิบใบชาที่ดีแต่มีกลิ่นดอกไม้หอมละมุนเข้ากับชาอย่างเป็นธรรมขาติ และสามารถรักษากลิ่นดอกไม้ไว้ได้นาน
  • ชื่อชานี้เกิดจากศิลปินหนุ่ม เติ้ง ไต้คุน (邓岱昆)  ได้ดื่มชานี้และแต่งกลอนโดยมีชื่อชานำหน้าในแต่ละวรรคว่า
    • 岭拾毛尖,底汲清泉。
      飘何所似,梅散人间。
    • (Bì lǐng shí máo jiān, tán dǐ jí qīng quán.
      Piāo piāo hé suǒ shì, xuě méi sàn rén jiān.)
    • "เก็บชายอดอ่อนจากยอดเขามรกต     ตักน้ำบริสุทธิ์จากใต้ลำธารลึก
      ล่องลอยดุจสิ่งใดเล่า? เสมือนหิมะและดอกเหมยโปรยปรายสู่โลกนี้"
  • เป็นชาที่เมื่อชงแล้วชาเขียวจะค่อย ๆ จมลงข้างล่างให้สีน้ำชาเหลืองปนเขียวอ่อนเหมือนเป็นบ่อน้ำมรกต แล้วมีดอกมะลิลอยด้านบนเหมือนเป็นหิมะนั่นเอง

วิธีชงชามะลิหิมะโปรย

  • ปริมาณชา : 3.5 กรัม
  • อุณหภูมิน้ำ : 85 องศาเซลเซียส
  • เวลาแช่ : 15 วินาที (+3 วินาที สำหรับการชงครั้งถัดไป)
  • ข้อแนะนำ : ใช้พอร์ซเลนหรือแก้วที่เก็บความร้อนได้ไม่ดีในการชงจะทำให้รสชานุ่มนวลกว่า ไม่ต้องลวกชา และเปิดฝาขณะชงชา

การผลิตที่ต้องรอช่วงเวลาที่ดีที่สุดของทั้ง 2 วัตถุดิบ

  • ชาเขียวที่ดีจะเก็บในฤดูใบไม้ผลิ และดอกมะลิที่ดีเก็บในฤดูร้อน ช่วงเวลาเก็บเกี่ยวที่ต่างกันทำให้มีต้นทุนการจัดเก็บที่สูง
    • เดือนมีนาคม-เมษายน ชาเขียวจากเอ๋อเหมยซานคุณภาพดีจะถูกเก็บเกี่ยว และถูกเก็บไว้ในอุณหภูมิเย็นจัด
    • เดือนมิถุนายน - กันยายน มะลิจากกว่างซี (广西) ออกดอกจำนวนมาก จึงนำเข้ามาทำชามะลิต่อ
  • กระบวนการทำเรียกว่า Multiple-time scenting (ตัวซื่อยิ่นฮวา 多次窨花)  คือ คัดดอกมะลิกึ่งตูมกึ่งบานจะมีสารหอมระเหยมากที่สุด มาวางซ้อนใบชาสลับเป็นชั้น ๆ ทิ้งไว้ 1 วันให้ใบชาดูดกลิ่นมะลิ
  • วันถัดมาจึงคัดดอกมะลิออกแล้วทำซ้ำแบบเดิมจนพอใจ
  • เกรดของชามะลิชนิดนี้จึงแบ่งเกรดกันตามจำนวนรอบ 3 - 9 รอบ ยิ่งมากก็ยิ่งทำให้กลิ่นมะลิสดถูกซับในใบชามาก ชงหลายรอบกลิ่นก็ไม่จางหายไปง่าย ๆ

รสชาติและกลิ่น

  • กลิ่น: หอมกลิ่นมะลิสด 
  • รสชาติ: รสหวานอ่อน น้ำชาเบา สัมผัสนุ่มไม่ฝาด ชุ่มคอ

คุณประโยชน์

  • มีคาเฟอีนสูง ทำให้ตื่นตัวได้นาน ไม่ดีด และเพิ่ม Metabolism ร่างกาย

คำแนะนำ

  • เหมาะกับผู้เริ่มดื่มและคนที่ดื่มชาประจำสามารถดื่มร่วมกันได้เลย เพราะหน้าตา รสชาติและกลิ่นน่าประทับใจทั้งคู่ หอมละมุน เหมือนอยู่ในสวนมะลิ ผ่อนคลายสุด ๆ

Screenshot_17.png
นภัสรพี พุทธรัตน์
ตั้งใจศึกษาชาด้วยหลักการ"การดื่มชาจะอร่อย และมีคุณค่าจรรโลงใจได้ ต้องเรียนรู้เรื่องราวของชา" - เจ้าของ Gimbocha Teahouse ร้านชาสไตล์ไต้หวัน-จีนแต้จิ๋ว ที่เน้นบรรยากาศอบอุ่นและเข้าถึงได้ง่าย โดยมีเป้าหมายให้ลูกค้าได้สัมผัสประสบการณ์การดื่มชาที่น่าประทับใจ
บทความที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy