ชาผูเอ่อร์สุกปี 1998 (98 勐海熟茶)
อัพเดทล่าสุด: 7 เม.ย. 2025
30 ผู้เข้าชม
ชาผูเอ่อร์ คืออะไร
- ในสมัยโบราณ ชาวจีนเรียกชาจากยูนนานว่า ชาอัดก้อนกลม ส่งขายไปตามเส้นทางค้าชาโบราณ ฉาหมากู่เต้า เป็นสินค้าสำคัญมากไม่แพ้เกลือ
- เพิ่งจะมาเรียกว่า ชาผูเอ่อร์ ก็ตอนจักรพรรดิหย่งเจิ้ง ราชวงศ์ชิงส่งตัวแทนมาตั้งป้อมปกครองที่เมืองผูเอ่อร์ แล้วส่งส่วยไปเข้าวัง ซึ่งมีชาจากที่นี่ส่งไปด้วย คนในวังจึงเรียกว่า ชานี้ว่า ชาผูเอ่อร์
- ชาผูเอ่อร์เป็นประเภทชาดำ (เฮยฉา 黑茶 ) ซึ่งเป็นชาที่สามารถเกิดทั้ง oxidation และ fermentation อย่างช้า ๆ เกิดเป็นการพัฒนารสชาติที่ซับซ้อน ยิ่งเก่ายิ่งมีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ และรสชาติที่กลมกล่อม
- ชานี้จึงมีคุณค่ามากขึ้นตามกาลเวลา และได้มาด้วยการรอเท่านั้ัน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ผูเอ่อร์ดิบ (เชิงฉา 生茶) กับ ผูเอ่อร์สุก (โชวฉา 熟茶)
ต้นกำเนิดชาผูเอ่อร์สุก
- เรื่องมีอยู่ว่า มีนักวิจัยชาท่านหนึ่งนามว่า อู๋ฉีอิง (吴启英) ได้เข้ามาทำงานในโรงงานผลิตชาของรัฐบาลในยูนนาน และได้เห็นความยากลำบากของชาวบ้านยูนนานทุก ๆ วัน ที่แม้จะผลิตชาได้ดี แต่ก็ยากจน
- วันหนึ่งเธอจึงเดินทางไปสำรวจปลายทางที่ขายชา คือ เกาะฮ่องกงศูนย์กลางขายชาและส่งออกให้ต่างประเทศ
- เธอพบว่า พ่อค้าชาฮ่องกงนั้นมีโกดังเก็บชาที่ใหญ่มากและกว่าครึ่งเต็มไปด้วยชาผูเอ่อร์จากยูนนาน ชาที่ขายดีหมดไวดันเป็นชาเก่าไม่ใช่ชาใหม่
- ดังนั้นต่อให้ชาวยูนนานจะผลิตชาได้เยอะแค่ไหน ชาที่ผลิตใหม่ก็ต้องรอให้เก่าไม่ต่ำกว่า 5 ปี กว่าจะพร้อมดื่มและขายได้
- นี่คือข้อจำกัดของชาผูเอ่อร์ที่เป็นเหมือนเพดานให้ชาวยูนนานที่แม้จะมีกำลังผลิตชาที่สูงแล้ว แต่ก็ไม่สามารถสร้างตัวได้ เพราะชาขายออกได้ช้ามาก
- เมื่อรู้ต้นตอปัญหาแล้ว เธอจึงครุ่นคิดและทดลองอย่างจริงจังเพื่อทลายข้อจำกัดและทำให้ชาผูเอ่อร์ขายได้ทันที ไม่ต้องรอเวลาอีกต่อไป
- ในปี 1974 เธอได้ค้นพบวิธีหมักชา ที่ทำให้ชาผูเอ่อร์มีรสชาติพร้อมดื่มได้ใน 45-90 วัน จากปกติที่ต้องรอกว่า 5 ปี เรียกว่า "การหมักกอง" ซึ่งใช้วิธีการเพิ่มความชื้นให้ใบชา และคลุมผ้าเพื่อสะสมความร้อนภายในกองชา ราว ๆ 60 °C
- ด้วยความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสม จุลินทรีย์จึงเกิดขึ้นในกองชาน้ันและทำให้ชาพัฒนารสชาติเร็วขึ้นเป็นอย่างมาก ชาที่ได้มีสีเข้ม รสหวานนุ่ม ขมฝาดน้อยมาก และมีกลิ่นพิเศษที่เกิดจากการหมักกองคล้าย ๆ ดินก่อนฝนตก หรือพุทราจีน
- เมื่อชานี้ออกสู่ตลาด ก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ราคาก็เข้าถึงได้ ทำให้เศรษฐกิจชาในยูนนานเติบโตอย่างมากอย่างที่เธอตั้งใจไว้
- หลังเธอจากโลกนี้ไป เธอได้รับการยกย่องเป็นบุคคลสำคัญของโลก ในฐานะของ "มารดาแห่งชาผูเอ่อร์ยุคปัจจุบัน"
ผูเอ่อร์สุก เก็บนานแล้วรสเปลี่ยนอย่างไร
- ชาผูเอ่อร์สุกถึงแม้จะเร่งการหมักให้เกิดกลิ่นรสที่ดื่มง่ายแล้ว เมื่อเวลาผ่านไปก็สามารถ ยิ่งเก็บ ยิ่งหอม เช่นเดียวกับชาดิบ
- หากวัตถุดิบเป็นยอดอ่อน รสน้ำชาจะเข้าที่เร็วภายใน 10 ปี ดื่มง่าย แต่เก็บเก่ารสชาติจะไม่ซับซ้อนเท่าวัตถุดิบชาใบแก่ ที่หากเก็บเก่าจะได้ผลลัพธ์รสชาติที่โดดเด่นกว่า ซึ่งจำแนกการเปลี่ยนแปลงได้ดังนี้
- ปีแรก (เพิ่งหมักเสร็จใหม่ ๆ)
- สีชา : แดงน้ำตาลทึบ ขุ่น
- กลิ่น : มีกลิ่นกองหมักคล้ายปุ๋ยชัดเจน
- รสชาติ : ค่อนข้างฝาด มีกลิ่นอับ น้ำชาบาง ไม่กลมกล่อม
- เก็บ 3 - 5 ปี
- สีชา : แดงเข้มใสขึ้น
- กลิ่น : กลิ่นกองหมักเริ่มจางลง
- รสชาติ : ฝาดลดลง ดื่มง่ายขึ้น แต่น้ำชายังเบาบาง
- เก็บ 7 - 10 ปี
- สีชา : แดงใสขึ้นอย่างชัดเจน
- กลิ่น : กลิ่นกองหมักหายไป มีกลิ่นไม้เก่า และกลิ่นเปรี้ยวนิด ๆ
- รสชาติ : เริ่มให้รสหวาน เปรี้ยวปลาย อย่าง พุทราจีน(枣香) น้ำชานุ่ม มีน้ำหนัก ดื่มสบายคอ
- เก็บ 10 - 15 ปี
- สีชา: แดงทับทิมเข้ม
- กลิ่น: กลิ่น ไม้ ผลไม้แห้งซับซ้อนมากขึ้น
- รสชาติ: รสชาติหวาน บอดี้เข้มข้นขึ้น น้ำชานุ่ม และกลมกล่อม
- เก็บ 20 ปีขึ้นไป
- สีชา: แดงทับทิมสว่าง ใสมาก
- กลิ่น: มีกลิ่นสมุนไพรจีน (กลิ่นยา) ที่พัฒนามาจากกลิ่นผลไม้แห้ง และไม้
- รสชาติ: หวานนุ่มมาก หวานปลายลิ้น กลิ่นรสรวมกัน ไม่โดด กลมกล่อมที่สุด
- ปีแรก (เพิ่งหมักเสร็จใหม่ ๆ)
วิธีชงชาผูเอ่อร์สุกกุหลาบยูนนาน
- ปริมาณชา : ผูเอ่อร์สุก 5 กรัม ต่อน้ำ 100 ml
- อุณหภูมิน้ำ : 100 องศาเซลเซียส
- เวลาแช่ :
- ลวกชา 2 รอบ รอบละ 5 วินาที
- ชงรอบละ 10 วินาที เพิ่มเวลาแช่ได้จนชาจืด
- **นี่เป็นวิธีศึกษาของเรา ไม่มีการชงที่ผิดหรือถูก อยู่ที่ความพอใจของผู้ดื่ม
กรรมวิธีการผลิต
- ลักษณะใบชาเป็นเส้น ๆ สีน้ำตาลปนดำ ถูกอัดเป็นก้อนมา หลังจากจากกระบวนการหมักกอง
รสชาติและกลิ่น
- กลิ่น :มีกลิ่นสมุนไพรจีน (กลิ่นยา) ที่พัฒนามาจากกลิ่นผลไม้แห้ง และไม้
- รสชาติ: หวานนุ่มมาก หวานปลายลิ้น กลิ่นรสรวมกัน ไม่โดด กลมกล่อมที่สุด
คุณประโยชน์
- ชาผูเอ่อร์สุกเก่า ดื่มง่ายสบายท้อง ทำให้ผ่อนคลาย อบอุ่นร่างกายได้ดี
คำแนะนำ
- เหมาะกับผู้ชอบชากลมกล่อม และกลิ่นที่แตกต่าง หาได้ยาก
บทความที่เกี่ยวข้อง